f
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายกรมทางหลวง ยึดหลักธรรมาภิบาลทุกขั้นตอน ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วม เตรียมแผนรองรับงบประมาณ ลดอุบัติเหตุแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด
ลงวันที่ 14/01/2563

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่กรมทางหลวง พร้อมด้วย โดยมี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ในวันที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมมนัส คอวนิช กรมทางหลวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของกรมทางหลวง (ทล.) ได้แก่
การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ซึ่ง ทล. มีแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงฯ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) จำนวน 21 สายทาง ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาค การเดินทางระหว่างหัวเมืองหลักและพื้นที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ขณะนี้มี
เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 350 กม. ประกอบด้วย
1. M81 บางใหญ่ – กาญจนบุรี 96 กม.วงเงิน 55,620 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 25%)
-งานระบบ และ O&M รูปแบบ PPP Gross Cost อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาฯ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2566 ที่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP)
2. M6 บางปะอิน –นครราชสีมา 196 กม. วงเงิน 84,6000 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 82 %)
- งานระบบ และ O&M รูปแบบ PPP Gross Cost อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาฯคาดว่าจะเสนอ ครม. อนุมัติเห็นชอบลงนามสัญญา ก.พ. 2563 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2566 ที่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP)
3. M7 พัทยา – มาบตาพุด 32 กม. วงเงิน 20, 200 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 98%)
งานระบบ อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 48%)คาดว่าจะเปิดใช้งาน กลางปี 2563 พี่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการร่วมลงทุนฯ
4. M82 บางขุนเทียน – บ้านแพ้ว 25 กม. วงเงิน 32,210 ลบ.
- งานโยธา ช่วงบางขุนเทียน – เอกชัย อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ในปีงบประมาณ 62 – 65 งานโยธา ช่วงเอกชัย – บ้านแพ้ว รวมงานระบบและ O&M ทั้งโครงการอยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP Net Cost เพื่อเตรียมเสนอขออนุมัติฯ

เส้นทางที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมนำเสนอขออนุมัติโครงการ
1.สายนครปฐม – ชะอำ (M8) วงเงินลงทุน 79,006 ลบ. ปัจจุบันอยู่ระหว่าง กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอ ครม. อนุมัติหลักการโครงการ
2. สายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลย์เซีย (M84)วงเงินลงทุน 42,620 ลบ.อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562
3.ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน (M5)วงเงินลงทุน 29,400 ลบ.อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2563
4.สายวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก (M9)วงเงินลุงทุน 78,000 ลบ.ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พร้อมการออกแบบกรอบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563 ช่วงบางบัวทอง – บางปะอิน สำรวจออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ
5.สายศรีนครินทร์ – สุวรรณภูมิ (M7)วงเงินลงทุน 37,500 ลบ.
- อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พร้อมการออกแบบกรอบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี2563

ผลและแผนการดำเนินงานโครงการทางหลวงที่สำคัญ
1.สะพานมิตรภาพระหว่างไทย - ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามแผนทั้งหมดมี 15 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว 10 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง มีแผนจะก่อสร้าง 4 แห่ง โดยล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 อนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ระยะทางรวม 16.18 กม. ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2563 และแล้วเสร็จปี 2565
2.โครงการพัฒนาทางหลวงรองรับ EEC ระยะทางรวม 746 กม. โดยในปี 2563 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 8 โครงการ วงเงิน 10,510 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 90 กม. และส่วนที่เหลือจะวางแผนขอรับการจัดสรรฯ ครบทุกโครงการ ภายในปี 2566
3. โครงการขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2 ) จำนวน 11 โครงข่าย ระยะทางรวม 5,246 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 483 กม. หรือ 9.2% ก่อสร้างแล้วเสร็จ 4,239 กม. หรือ 80.8% และคงเหลือแผนงานในอนาคต 524 กม. หรือ 10%

ติดตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 ทล. ได้รับจัดสรรงบประมาณฯ 115,888 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้ดำเนินแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ จำนวน 67,287 ล้านบาท หรือ 58%

ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประกอบด้วย
1. การแก้ไขปัญหาความล่าช้าโครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ซึ่ง ทล. ได้ดำเนินงานแก้ไขจุดที่ทำให้การจราจรติดขัดเป็นระยะทางยาว เช่น การคืนผิวจราจรให้สามารถใช้เส้นทางไป - กลับ ได้ 12 ช่องจราจร พร้อมติดตั้งแบร์ริเออร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ที่ผ่านมา การประชาสัมพันธ์ ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณจุดวิกฤตหรือจุดที่มีการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจราจร พร้อมจัดป้ายบอกทางเคลื่อนที่ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ใช้ทางตัดสินใจเลือกใช้เส้นทาง การแก้ไขปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภค การปรับปรุงแก้ไขแบบ ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างทางขนานแล้วเสร็จ ส่งผลให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงานเดิม 2. การกำหนดความเร็วรถสำหรับถนน 4 ช่องจราจรขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชั่วโมง ปัจจุบันจากการสำรวจสามารถดำเนินการได้ ระยะทางรวม 252 กม. ในสายทาง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข (ทล.) 32 ดำเนินการระยะแรก 45.9 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 100 กม. ทล.1 ดำเนินการระยะแรก 17.5 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 37 กม. ทล.2 ดำเนินการระยะแรก 6 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 19 กม. ทล.4 ดำเนินการระยะแรก 9.5 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 18 กม. และอยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม ซึ่ง ทล. ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสภาพพื้นที่ในภาพรวม เช่น ติดตั้งป้ายจราจร เส้นจราจรเพื่อควบคุมการเดินรถ อุปกรณ์กั้นให้มีความสมบูรณ์และเหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ต้องออกประกาศกฎกระทรวงรองรับการใช้ความเร็วดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2563
3. การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ โดยศึกษาและจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ให้รถสามารถผ่านด่านฯ ได้โดยเร็ว ไม่หยุดชะงัก ปัจจุบันมอเตอร์เวย์ ด่านทับช้าง 2 ประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ซึ่ง ทล. ได้จัดทำแบบจำลองการจราจรเสมือนจริง ปรับปรุงทางกายภาพเป็นการชั่วคราว จัดเจ้าหน้าที่เก็บเงินค่าผ่านทางหน้าตู้เก็บเงินและยกไม้กั้นอัตโนมัติในชั่วโมงเร่งด่วน รวมถึงสร้างมาตรการจูงใจให้ผู้ใช้ทางใช้ระบบอัตโนมัติหรือ ETC และอยู่ระหว่างประสานกรมการขนส่งทางบก ขอข้อมูลทะเบียนรถที่ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าผ่านทาง เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิดต่อไป
4. การลดค่าธรรมเนียมผ่านทางสำหรับดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่ง ทล. ได้เจรจากับ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เพื่อขอความร่วมมือพิจารณาลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าผ่านทางฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยินดีที่จะคงส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการ โดยจำหน่ายคูปองส่วนลดร้อยละ 5 ต่อเล่ม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2562 - 21 มิถุนายน 2563 คูปองสามารถใช้ได้ 5 ปี
5. การเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในงานของ ทล. โดยในปี 2562 ใช้น้ำยางสด 23,013 ตัน ส่วนปี 2563 จะใช้น้ำยางสด 26,564 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 15.4% ขณะที่การดำเนินตามนโยบายให้ใช้ยางพารามาหุ้มแบร์ริเออร์ ทล. จะใช้การออกแบบยางพาราหุ้มฯ ที่เหมาะสม ตามผลการประชุมคณะทำงานศึกษาแนวทางการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่อไป
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้มอบนโยบายให้ ทล. เตรียมความพร้อมการจัดซื้อจัดจ้าง รองรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินโครงการและการดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยต้องตรวจสอบรายละเอียดสัญญาโครงการต่างๆ ให้รอบคอบ การเน้นย้ำการลดจุดเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง การสำรวจการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง รวมถึงการปลูกต้นไม้ในเขตทางหลวงที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่เพื่อลดฝุ่น PM.2.5 ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมย้ำในตอนท้ายว่าให้ผู้บริหารกรมทางหลวงและเจ้าหน้าที่ทุกท่านถือปฎิบัติก็คือ การทำงานของหน่วยงานให้ดำเนินการด้วย หลักธรรมาภิบาลทุกขั้นตอน ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่กรมทางหลวง พร้อมด้วย โดยมี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ในวันที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมมนัส คอวนิช กรมทางหลวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของกรมทางหลวง (ทล.) ได้แก่
การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ซึ่ง ทล. มีแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงฯ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) จำนวน 21 สายทาง ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาค การเดินทางระหว่างหัวเมืองหลักและพื้นที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ขณะนี้มี
เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 350 กม. ประกอบด้วย
1. M81 บางใหญ่ – กาญจนบุรี 96 กม.วงเงิน 55,620 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 25%)
-งานระบบ และ O&M รูปแบบ PPP Gross Cost อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาฯ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2566 ที่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP)
2. M6 บางปะอิน –นครราชสีมา 196 กม. วงเงิน 84,6000 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 82 %)
- งานระบบ และ O&M รูปแบบ PPP Gross Cost อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาฯคาดว่าจะเสนอ ครม. อนุมัติเห็นชอบลงนามสัญญา ก.พ. 2563 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2566 ที่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP)
3. M7 พัทยา – มาบตาพุด 32 กม. วงเงิน 20, 200 ลบ.
- งานโยธา อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 98%)
งานระบบ อยู่ระหว่างก่อสร้าง (ความก้าวหน้า 48%)คาดว่าจะเปิดใช้งาน กลางปี 2563 พี่พักริมทาง อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติรูปแบบการร่วมลงทุนฯ
4. M82 บางขุนเทียน – บ้านแพ้ว 25 กม. วงเงิน 32,210 ลบ.
- งานโยธา ช่วงบางขุนเทียน – เอกชัย อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ในปีงบประมาณ 62 – 65 งานโยธา ช่วงเอกชัย – บ้านแพ้ว รวมงานระบบและ O&M ทั้งโครงการอยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP Net Cost เพื่อเตรียมเสนอขออนุมัติฯ

เส้นทางที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมนำเสนอขออนุมัติโครงการ
1.สายนครปฐม – ชะอำ (M8) วงเงินลงทุน 79,006 ลบ. ปัจจุบันอยู่ระหว่าง กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอ ครม. อนุมัติหลักการโครงการ
2. สายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลย์เซีย (M84)วงเงินลงทุน 42,620 ลบ.อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562
3.ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน (M5)วงเงินลงทุน 29,400 ลบ.อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษารูปแบบ PPP คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2563
4.สายวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก (M9)วงเงินลุงทุน 78,000 ลบ.ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พร้อมการออกแบบกรอบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563 ช่วงบางบัวทอง – บางปะอิน สำรวจออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ
5.สายศรีนครินทร์ – สุวรรณภูมิ (M7)วงเงินลงทุน 37,500 ลบ.
- อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พร้อมการออกแบบกรอบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี2563

ผลและแผนการดำเนินงานโครงการทางหลวงที่สำคัญ
1.สะพานมิตรภาพระหว่างไทย - ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามแผนทั้งหมดมี 15 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว 10 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง มีแผนจะก่อสร้าง 4 แห่ง โดยล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 อนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ระยะทางรวม 16.18 กม. ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2563 และแล้วเสร็จปี 2565
2.โครงการพัฒนาทางหลวงรองรับ EEC ระยะทางรวม 746 กม. โดยในปี 2563 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 8 โครงการ วงเงิน 10,510 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 90 กม. และส่วนที่เหลือจะวางแผนขอรับการจัดสรรฯ ครบทุกโครงการ ภายในปี 2566
3. โครงการขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2 ) จำนวน 11 โครงข่าย ระยะทางรวม 5,246 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 483 กม. หรือ 9.2% ก่อสร้างแล้วเสร็จ 4,239 กม. หรือ 80.8% และคงเหลือแผนงานในอนาคต 524 กม. หรือ 10%

ติดตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 ทล. ได้รับจัดสรรงบประมาณฯ 115,888 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้ดำเนินแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ จำนวน 67,287 ล้านบาท หรือ 58%

ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประกอบด้วย
1. การแก้ไขปัญหาความล่าช้าโครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ซึ่ง ทล. ได้ดำเนินงานแก้ไขจุดที่ทำให้การจราจรติดขัดเป็นระยะทางยาว เช่น การคืนผิวจราจรให้สามารถใช้เส้นทางไป - กลับ ได้ 12 ช่องจราจร พร้อมติดตั้งแบร์ริเออร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ที่ผ่านมา การประชาสัมพันธ์ ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณจุดวิกฤตหรือจุดที่มีการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจราจร พร้อมจัดป้ายบอกทางเคลื่อนที่ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ใช้ทางตัดสินใจเลือกใช้เส้นทาง การแก้ไขปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภค การปรับปรุงแก้ไขแบบ ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างทางขนานแล้วเสร็จ ส่งผลให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงานเดิม 2. การกำหนดความเร็วรถสำหรับถนน 4 ช่องจราจรขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชั่วโมง ปัจจุบันจากการสำรวจสามารถดำเนินการได้ ระยะทางรวม 252 กม. ในสายทาง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข (ทล.) 32 ดำเนินการระยะแรก 45.9 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 100 กม. ทล.1 ดำเนินการระยะแรก 17.5 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 37 กม. ทล.2 ดำเนินการระยะแรก 6 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 19 กม. ทล.4 ดำเนินการระยะแรก 9.5 กม. และดำเนินการในระยะถัดไป 18 กม. และอยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม ซึ่ง ทล. ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสภาพพื้นที่ในภาพรวม เช่น ติดตั้งป้ายจราจร เส้นจราจรเพื่อควบคุมการเดินรถ อุปกรณ์กั้นให้มีความสมบูรณ์และเหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ต้องออกประกาศกฎกระทรวงรองรับการใช้ความเร็วดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2563
3. การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ โดยศึกษาและจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ให้รถสามารถผ่านด่านฯ ได้โดยเร็ว ไม่หยุดชะงัก ปัจจุบันมอเตอร์เวย์ ด่านทับช้าง 2 ประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ซึ่ง ทล. ได้จัดทำแบบจำลองการจราจรเสมือนจริง ปรับปรุงทางกายภาพเป็นการชั่วคราว จัดเจ้าหน้าที่เก็บเงินค่าผ่านทางหน้าตู้เก็บเงินและยกไม้กั้นอัตโนมัติในชั่วโมงเร่งด่วน รวมถึงสร้างมาตรการจูงใจให้ผู้ใช้ทางใช้ระบบอัตโนมัติหรือ ETC และอยู่ระหว่างประสานกรมการขนส่งทางบก ขอข้อมูลทะเบียนรถที่ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าผ่านทาง เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิดต่อไป
4. การลดค่าธรรมเนียมผ่านทางสำหรับดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่ง ทล. ได้เจรจากับ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เพื่อขอความร่วมมือพิจารณาลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าผ่านทางฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยินดีที่จะคงส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการ โดยจำหน่ายคูปองส่วนลดร้อยละ 5 ต่อเล่ม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2562 - 21 มิถุนายน 2563 คูปองสามารถใช้ได้ 5 ปี
5. การเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในงานของ ทล. โดยในปี 2562 ใช้น้ำยางสด 23,013 ตัน ส่วนปี 2563 จะใช้น้ำยางสด 26,564 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 15.4% ขณะที่การดำเนินตามนโยบายให้ใช้ยางพารามาหุ้มแบร์ริเออร์ ทล. จะใช้การออกแบบยางพาราหุ้มฯ ที่เหมาะสม ตามผลการประชุมคณะทำงานศึกษาแนวทางการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่อไป
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้มอบนโยบายให้ ทล. เตรียมความพร้อมการจัดซื้อจัดจ้าง รองรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินโครงการและการดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยต้องตรวจสอบรายละเอียดสัญญาโครงการต่างๆ ให้รอบคอบ การเน้นย้ำการลดจุดเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง การสำรวจการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง รวมถึงการปลูกต้นไม้ในเขตทางหลวงที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่เพื่อลดฝุ่น PM.2.5 ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมย้ำในตอนท้ายว่าให้ผู้บริหารกรมทางหลวงและเจ้าหน้าที่ทุกท่านถือปฎิบัติก็คือ การทำงานของหน่วยงานให้ดำเนินการด้วย หลักธรรมาภิบาลทุกขั้นตอน ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม


'